[Tactic Analysis] เหตุผลที่ โทมิยาสุ จะเข้ามาแก้ปัญหาจุดอ่อนแบ็คขวาปืนได้

[Tactic Analysis] เหตุผลที่ โทมิยาสุ จะเข้ามาแก้ปัญหาจุดอ่อนแบ็คขวาปืนได้

ทาเคฮิโร่ โทมิยาสุ ประเดิมสนามให้กับอาร์เซน่อลไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา วิธีการเล่นของแบ็คขวาทีมชาติญี่ปุ่นที่แสดงออกมาในเกมส์กับนอริชก็มีความน่าสนใจไม่น้อย

โทมิยาสุ เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในแผงแบ็คโฟร์ของทีมร่วมกับ เบน ไวท์, กาเบรียล และคีแรน เทียร์นี่ย์ เขาเพิ่งได้ซ้อมกับทีมแค่สองวันเท่านั้น แต่ก็ถูกส่งให้ลงเล่นเป็นตัวจริงทันที แต่ก็แสดงว่าอาร์เตต้า ไม่มีความเชื่อมั่นในตัว คาลัมม์ แชมเบอร์ และเซดริก ซัวเรซ สองแบ็คขวาที่ทำผลงานได้อย่างย่ำแย่ ในช่วงออกสตาร์ทฤดูกาลใหม่

โทมิยาสุ สามารถปรับตัวกับทีมได้อย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่งเรื่องการสื่อสารเขาสามารถสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี ต้องขอบคุณที่เขาย้ายจากญี่ปุ่นมาค้าแข้งในยุโรปกับแซงต์ ทรุยดอง ตั้งแต่ 19 ปี และทีมสต๊าฟโค้ชแซงต์ ทรุยดอง ก็สื่อสารกับเขาด้วยภาษาอังกฤษมากกว่าที่จะเป็นภาษาฝรั่งเศส หรือดัตซ์

ปัจจัยหลักที่อาร์เซน่อลเลือกที่จะเซ็น โทมิยาสุ แทนที่จะเป็น เอเมอร์สัน รอยัล เนื่องจาก โทมิยาสุ มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับการยืนตำแหน่ง และการเล่นได้หลากหลายบทบาทในแนวรับ

ในระบบของอาร์เตต้า มีบางสิ่งที่ค่อนข้างเฉพาะเจาะจง ในขณะที่ เทียร์นี่ย์ เติมสูงขึ้นไปเพื่อช่วยในการสนับสนุนเกมส์รุก บ่อยครั้งที่แบ็คขวามักจะถูกเข้ามาช่วย Cover ในแนวรับ คล้ายกับวิธีของ เป๊ป กวาร์ดิโอล่า ในการใช้งาน ไคส์ วอคเกอร์ ที่แมนเชสเตอร์ ซิตี้

หากดูจาก Touch map (ตำแหน่งในการสัมผัสบอล) ของทั้งสองคน จะเห็นรูปแบบที่ชัดเจนมากๆ

Touch Map ของเทียร์นี่ย์ เราจะเห็นว่าเขาจะสมาธิและเป้าหมายในการเข้าช่วยโจมตีพื้นที่สุดท้าย หรือภายใน 20 หลาหน้าประตูของคู่แข่ง ขณะที่ของ โทมิยาสุ จะเด่นชัดในการทำหน้าที่ในแดนของตัวเองเป็นหลัก อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงแค่ตัวอย่างเกมส์แรก แต่เราสามารถคาดการณ์ว่าจะได้เห็นรูปแบบดังกล่าวต่อไปเรื่อยๆ หากอาร์เตต้ายังยึดแนวทางการเล่นในระบบนี้

Touch Map ของเทียร์นี่ย์ เราจะเห็นว่าเขาจะสมาธิและเป้าหมายในการเข้าช่วยโจมตีพื้นที่สุดท้าย หรือภายใน 20 หลาหน้าประตูของคู่แข่ง ขณะที่ของ โทมิยาสุ จะเด่นชัดในการทำหน้าที่ในแดนของตัวเองเป็นหลัก อย่างไรก็ตามนี่เป็นเพียงแค่ตัวอย่างเกมส์แรก แต่เราสามารถคาดการณ์ว่าจะได้เห็นรูปแบบดังกล่าวต่อไปเรื่อยๆ หากอาร์เตต้ายังยึดแนวทางการเล่นในระบบนี้

อย่างไรก็ตาม ระบบไม่ได้เข้มงวดไปเสียหมด โทมิยาสุเองก็ได้รับอนุญาตให้สามารถเติมขึ้นไปด้านบนได้ อย่างที่เราเห็นในช่วง 7 นาทีแรกของเกมส์ จากจังหวะที่ เบน ไวท์ พาบอลขึ้นมาในแดนของนอริช โทมิยาสุ วิ่งทำทางทะลุผ่านแนวป้องกันของทางนอริชขึ้นไป ก่อนที่ ไวท์ จะยกบอลข้ามแนวรับไปที่โทมิยาสุ

แท็กติกที่เป็นพิมพ์เขียวของอาร์เตต้ามีความชัดเจน ขณที่ทางเทียร์นี่ย์ ถูกมอบหมายให้ใช้การ Overlap (วิ่งเติมขึ้นไปจากด้านหลัง) ทางโทมิยาสุ ที่เล่นในตำแหน่งแบ็คขวาจะเติมในลักษณะของ Underlap (วิ่งเติมขึ้นมาด้านใน) จากจังหวะตัวอย่างด้านล่าง เมื่อ มาร์ติน โอเดการ์ด ขยับไปรับบอลด้านข้าง โทมิยาสุ ก็จะเติมขึ้นตรงกลางที่เป็นตำแหน่งเดิมของโอเดการ์ดแทน

ถัดมาเรามาดูตำแหน่งของโทมิยาสุ ในจังหวะการที่อาร์เซน่อล Buildup ขึ้นมา หลายครั้งที่เราจะเห็นอาร์เซน่อลขึ้นเกมส์ในรูปแบบของ 2-3-5 หรือ 3-2-5 แต่ในเกมส์ที่เจอกับนอริช อาร์เซน่อลใช้สองเซนเตอร์ฮาร์ฟ และมีกองกลางสามคน โดยที่ โทมิยาสุ จะขยับขึ้นไปเหมือนเป็นกองกลางอีกคน นอกจาก โลกองก้า และเมตแลนด์-ไนล์ส

สิ่งหนึ่งอาร์เซนอ่ล อาจจะหวังให้ทางโทมิยาสุ พัฒนาขึ้นจากเกมส์เมื่อวันเสาร์คือความแน่นอนในการจ่ายบอล เขาจ่ายบอลสำเร็จ 20 จาก 29 ครั้ง คิดเป็น 69% อย่างไรก็ตามการจ่ายบอลส่วนใหญ่ของเขาจะเป็นการฝากบอลไปให้กับ เปเป้ (8 ครั้ง) และทางเปเป้ ก็มีฝากบอลมาที่โทมิยาสุ 9 ครั้ง ก็ยังมองว่าทั้งคู่ก็ยังสามารถประสานงานร่วมกันได้

จบเกมส์นัดที่แล้ว เปเป้ ได้จับบอลมากถึง 81 ครั้ง นับว่ามากที่สุดเป็นอันดับสองในการเล่นพรีเมียร์ลีกของเขาเลย เป็นรองแค่นัดที่ชนะพาเลซ 3-1 เมื่อเดือนพฤษภาคม ที่เปเป้ยิงได้สองประตูในเกมส์ดังกล่าว การที่เข้าได้มีส่วนร่วมกับเกมส์มากขึ้น ก็น่าจะช่วยดึงสมดุลให้กับทีมได้

ท้ายที่สุด จุดที่แข็งแกร่งมากๆ ของโทมิยาสุก็คือเรื่องของเกมส์รับ ตามสถิติ Opta เขามีสถิติในการ Regained Possession 5 ครั้ง มากที่สุดในบรรดาแบ็คโฟร์ของทีม และเขาอยู่ในสนามแค่ 62 นาทีเท่านั้น ส่วนคนอื่นเล่นตลอดทั้งเกมส์

จุดหนึ่งที่น่าประทับใจในนัดประเดิมสนามของโทมิยาสุ คือความรวดเร็ว แม้ว่าเขาจะมีส่วนสูง 6 ฟุต 2 นิ้ว แต่เมื่อจำเป็นต้องวิ่งกลับไปประจำตำแหน่งเขาก็สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว อย่างในจังหวะที่ คริสตอส ทีโซลิส ปีกของนอริชกับกำลังจะวิ่งไปรับบอล

โทมิยาสุ สามารถอ่านเกมส์ได้อย่างรวดเร็ว และสามารถกลับไปชะลอเกมส์บุกของฝั่งนอริชได้

ความโดดเด่นในลูกกลางอากาศก็เป็นอีกหนึ่งความยอดเยี่ยมของโทมิยาสุในนัดประเดิมสนาม เขาเอาชนะการแย่งโหม่งได้ 7 จาก 8 ครั้ง ขณะที่ เบน ไวท์ และกาเบรียล มีสถิติชนะในการแย่งลูกกลางอากาศรวมกันแค่ 5 ครั้งเท่านั้น

ส่วนสูงของเขาทำให้อาร์เซน่อล สามารถป้องกันลูกวางยาวแทยงมุมจากแนวลึกได้ดี อย่างที่นอริช พยายามที่จะวางบอลยาวข้ามหัว เบน ไวท์ ไปในพื้นที่ว่าง อย่างไรก็ตาม โทมิยาสุ สามารถช่วยโหม่งสกัดได้อย่างไม่ยากเย็น ซึ่งหากมองว่าแบ็คขวาเป็น เซดริก หรือเบเยริน ก็อาจจะมีปัญหากับลูกการโจมตีลักษณะนี้ได้

ก็ต้องมาดูกันในเกมส์ถัดไปที่จะเจอกับ เบิร์นลี่ย์ ว่าความโดดเด่นในลูกกลางอากาศของโทมิยาสุ ยังจะดีได้แบบนี้หรือไม่

• เรื่องน่าสนใจ •

เข้าสูตรถอนตัวทีมชาติ ปืนใหญ่มั่นใจ “คิงไค-พี่หมึก” ฟิตทันเยือนบอร์นมัธ หลังเบรกฯ

ไซมอน คอลลินส์ นักข่าวสายอาร์เซน่อลจาก London Evening Standard รายงานข่าวว่า อาร์เซน่อล มั่นใจว่า ไค...